ศิลปะที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิด วิถีชีวิต และสังคมในช่วงเวลาที่ศิลปินสร้างผลงานนั้น ๆ ความสำคัญของศิลปะร่วมสมัยคือการแสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ที่ไร้ขีดจำกัด โดยไม่ยึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ และมีการนำเทคโนโลยีและสื่อใหม่ ๆ เข้ามามีบทบาทในการสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งทำให้เกิดความหลากหลายทั้งในด้านสื่อ เทคนิค และแนวคิด โดย ดร.ชญานุตม์ ศิลปศาสตร์
ศิลปะร่วมสมัย 9 สาขา ได้แก่ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ เรขศิลป์และการออกแบบ โดยมุ่งหวังให้ความรู้ ประสบการณ์และแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินผู้มีชื่อเสียงทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ นำเสนอเป็นความรู้ในเชิงศิลปะ สามารถกระตุ้นความคิดให้เกิดแรงผลักดันในเชิงบวกแก่ผู้อ่าน โดย ดร.ชญานุตม์ ศิลปศาสตร์
Global Mindset ทัศนคติหรือกรอบความคิดแบบสากล เป็นการมองในมุมกว้างที่ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะความรู้หรือข้อมูลที่มีแค่ในประเทศหรือเพียงแค่ในสังคมที่ตนอาศัยอยู่ แต่ต้องรู้ให้เท่าทันโลกที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพื่อก้าวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ โดย ผศ.ดร.ภัทริยา งามมุข
กระบวนการสร้าง Growth Mindset ปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้เพร้อมเรียนรู้และรับมือกับความเปลี่ยนแปลง วิธีคิดที่เชื่อว่าทักษะและความรู้ความสามารถของเราสามารถพัฒนาได้ผ่านการเรียนรู้และการพยายามฝึกฝน ไม่มีอะไรที่อยู่เหนือความพยายามและความตั้งใจ โดย ผศ.ดร.ภัทริยา งามมุข
การบรรยายเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) นำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ของพฤกษา เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ยุคใหม่และเทรนด์ความใส่ใจด้านสุขภาพและการใช้ชีวิตในยุคโควิด โดย Kamolsri Autsawaphakorn
การบรรยายเกี่ยวกับ Workshop and food tasting “Thai kitchen to the world” เปิดประสบการณ์ใหม่ในการทำอาหารไทยกับคอร์สเรียนทำอาหารไทยสุดพิเศษ ที่จะพาทุกคนเรียนรู้ศิลปะและเทคนิคการทำอาหารไทยแบบดั้งเดิม ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง โดย Chef Vanessa Wu
สารพันเกร็ดความรู้เรื่องการเงิน จาก ดร.อัจฉรา โยมสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและคร่ำหวอดในวงการมายาวนาน ทั้งในบทบาทอาจารย์ภาควิชาการเงิน ที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน วิทยากร ฯลฯ โดยมีแนวคิดที่น่าสนใจและร่วมสมัยจากการน้อมนำแนวคิดเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ผสมผสานกับศาสตร์ด้านการเงิน เกิดเป็นหลักการบริหารจัดการการเงินที่ให้ผลลัพธ์อย่างยั่งยืน เกิดเป็นศัพท์ใหม่ “เศรษฐีพอเพียง”